การถ่ายภาพให้สวยด้วยกล้องมือถือ จะทำยังไงให้ได้ภาพสวย ๆ ซึ่งมือถือจะต่างจากกล้อง Mirrorless หรือ DSLR เพราะว่าเซ็นเซอร์มันเล็กกว่าเยอะและข้อจำกัดก็เยอะกว่า ก็เลยเป็นที่คาใจว่า จะมีวิธีที่จะถ่ายภาพให้มันสวยๆ จากสมาร์ทโฟนได้บ้าง
1. ทำให้ภาพดูเรียบง่าย เข้าใจง่าย เน้นการเล่าเรื่อง
ความเรียบง่ายและดูชัดเจน เป็นกลยุทธที่ใช้ได้กับทุกศาสตร์ไม่ว่าจะด้านธุรกิจหรือการสื่อสารเอง การถ่ายภาพก็เหมือนกันครับ ภาพที่ดูเรียบง่าย ชัดเจน มันเป็นการสื่อสารกับคนที่ดูภาพให้เข้าใจ เรียบง่าย และลงตัว ต้องลองถามตัวเองนะว่าถ่ายภาพเพื่อบอกว่า ณ เวลานั้นมันสวยอย่างที่เราเห็น หรือแค่เราต้องการโชว์เทคนิค กระบวนการและผลที่ออกมามันคนละแบบกันเลย นอกจากนี้สิ่งที่ขาดไม่ได้คือเรื่องของการจัดองค์ประกอบภาพ เพราะกล้องอย่างสมาร์ทโฟนไม่ได้มีลูกเล่นอะไรมากเลย สิ่งที่เราช่วยกล้องได้มากที่สุดก็เรื่องจัดองค์ประกอบภาพ
ส่วนการทำให้ภาพโดดเด่นขึ้นมาแบบเรียบง่ายที่นิยมทำเรียกว่า Negative Space คือการทำให้ภาพมีพื้นที่ว่างเพื่อทำให้เรื่องหลักของเราโดดเด่นขึ้นได้ง่าย ๆ เลย แต่สิ่งที่ต้องมีคือการสื่อสารที่มันจะบอกกับคนดูให้ได้ว่า เรากำลังจะบอกอะไรในภาพ
การถ่ายภาพสไตล์มินิมอลก็เป็นไอเดียที่ดีในการทำให้ภาพถ่ายเราดูเรียบง่าย
และมันเป็นที่นิยมบนโซเชียลมีเดียด้วย
ดังนั้นลองฝึกถ่ายภาพให้มันดูเรียบง่ายเข้าไว้เนอะ เพราะมันได้ผลดีกับกล้องสมาร์ทโฟนเลยล่ะ
2. ถ่ายภาพจากมุมต่ำ (ถ่ายมุมเสยขึ้น)
รูปถ่ายส่วนใหญ่จากมือถือของเราจะถูกถ่ายกับระดับอกที่เรายืนอยู่
(ลองคิดภาพตามตอนที่เราถ่ายด้วยมือถือ) เพราะงั้นวิธีที่จะทำให้ภาพถ่ายดูสะดุดตา
น่าสนใจ หรือแปลกตาออกไป ก็ต้องเปลี่ยนมุมที่ถ่ายภาพโดยการถ่ายจากมุมต่ำเสยขึ้นไป ภาพถ่ายจะดูน่าสนใจมากขึ้นทันที
เพราะมันไม่ใช่มุมปกติที่ถ่ายกันเท่าไหร่ ทำให้เรื่องราวชัดเจนขึ้น
คือมีฉากหน้าที่ดูแปลกตา ตัวแบบที่ดูโดดเด่น ฉากหลังที่ดูไม่รก(มักจะเป็นท้องฟ้า) ทำให้ฉากหน้าที่เคยถูกมองข้ามกลายเป็นสิ่งที่มีรายละเอียดและน่าสนใจมากขึ้น เราสามารถเล่นกับฉากหน้าได้มากขึ้น นอกจากนี้ภาพมุมต่ำเนี่ยมันมีอะไรให้เล่นเยอะมาก เช่นพวกน้ำ เงาสะท้อน
3. ถ่ายให้เห็นถึงมิติลึกในภาพ
ภาพถ่ายส่วนใหญ่เลยจะดูดีขึ้นเมื่อรู้สึกถึงมิติของภาพที่ลึกลงไป และนอกจากนี้การถ่ายภาพที่ทำให้เห็นมิติลึกจะมีเส้นนำสายตาที่ช่วยดึงผู้ชมเข้าไปสู่จุดสนใจได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้เรายังใช้พื้นฐานการจัดวางองค์ประกอบภาพเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของการเล่าเรื่องได้ด้วย
เรื่องเส้นนำสายตา เราสามารถใช้อะไรก็ได้นะ เส้นถนน ทางรถไฟ แม่น้ำ
รั้ว คลื่นในหาดทราย ได้หมด
อะไรที่มันเป็นเส้นและดึงดูดผู้ชมเข้าไปที่จุดสนใจในภาพ
อีกเทคนิคนึงที่จะทำให้เห็นความลึกในภาพคือ
Foreground หรือฉากหน้า เพราะฉากหน้ามันทำให้มองเห็นถึงสิ่งที่อยู่ใกล้เรา
และสร้างมิติเนื่องด้วยมันห่างจากจุดสนใจ และจุดสนใจก็มีฉากหลังอยู่
นอกจากนี้ฉากหน้ามันก็มีรายละเอียดที่น่าสนใจ เช่น โขดหิน ต้นไม้ ใบหญ้าต่าง ๆ
ทำให้ภาพมีเรื่องราวเยอะขึ้นไปด้วย
นอกจากนี้การสร้างความลึกหรือมิติลึกให้กับภาพคือ
การใช้ฉากหน้าที่เป็นกรอบภาพตามธรรมชาติ กรอบภาพพวกประตูหน้าต่าง หรืออะไรก็ได้ที่มันมีลักษณะเป็นกรอบรอบวัตถุหรือจุดสนใจอ่ะ
ใช้ได้หมด หลังจากนั้นก็ถ่ายภาพผ่านกรอบพวกนั้น
ทำให้สายตาผู้ชมโฟกัสไปที่ช่องว่างของกรอบครับ ทำให้มิติภาพมันดูดีขึ้นมาเลย
ถ้ามีวัตถุหลายอย่างในภาพ
ให้ลองจัดสิ่งเหล่านั้นอยู่ในแนวของเส้นทแยงมุมซึ่งมันจะสร้างความสมดุลขององค์ประกอบภาพมากขึ้น
แล้วถ้าหากว่าเราไปถ่าย Landscape แล้วเราไม่สามารถจัดฉากอะไรให้อยู่ในเส้นทแยงมุมได้จะทำยังไง
ก็ง่าย ๆ แค่เราก็ควรจะเดินหามุมเพิ่มเติมครับ แล้วก็ลองจัดใหม่ ทำให้เราได้พัฒนาในการหามุมมองใหม่
ๆ ได้ไปในตัว
นอกจากนี้การเข้าใกล้แบบหรือถ่ายใกล้ ๆ ยังใช้ได้ดีสำหรับการถ่ายภาพบุคคลด้วย
ทำให้เราสามารถจับใบหน้าและอารมณ์ของบุคคลได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นด้วย
แถมวิธีการถ่ายภาพแบบนี้ก็ยังใช้ได้ทั้งคนและสัตว์เลี้ยงแสนน่ารักอีกต่างหาก
ดังนั้นลองถ่ายภาพระยะใกล้ ๆ นอกจากนี้อย่าลืมด้วยว่าระยะโฟกัสใกล้สุดมันมีนะ
ที่ต้องบอกเพราะว่า ถ้าหากเราเข้าใกล้มากเกินไปมันจะโฟกัสไม่ได้
เมื่อดวงอาทิตย์เริ่มตก
เราก็จะเริ่มเห็นเงาที่เกิดขึ้น ถ้าหากว่าเราจัดองค์ประกอบให้มีเงาในภาพ
เราสามารถสร้างความน่าสนใจให้ภาพได้ด้วย
เงาที่ยาวที่สุดจะมองเห็นเมื่อดวงอาทิตย์อยู่ต่ำลง
ดังนั้นในการถ่ายภาพช่วง Golden Hour หรือช่วงอาทิตย์ตกนั้นจะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพแบบนี้
การถ่ายภาพเงาสะท้อนเป็นอีกเทคนิคที่ดีมาก ๆ สำหรับการถ่ายภาพด้วยกล้องสมาร์ทโฟน เพราะมันสร้างเรื่องราวที่โดดเด่นและน่าสนใจได้เป็นอย่างดีมากเลยแหละ
การถ่ายภาพเงาสะท้อนจะทำให้เงาที่พื้นเกิดการเปลี่ยนแปลงจากความเป็นจริง
ดูบิดเบือน และทำให้เกิดเอฟเฟคที่สวยงาม ไม่ใช่แค่เงาที่สะท้อนเท่านั้น
ยังมีเรื่องของแสงที่อยู่บนผิวน้ำด้วย
การใช้ความสมมาตรในการจัดวางองค์ประกอบภาพเป็นพื้นฐานอย่างหนึ่งที่น่าสนใจเหมือนกันนะ เพราะมันทำให้ภาพดูสมดุล พอมันสมดุลปุ๊บ ภาพมันก็ดูลงตัวโดยอัตโนมัติ เราอาจจะใช้ความสมมาตรจากสถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างขึ้นได้ เช่น อาคาร ม้านั่ง เป็นต้น เพราะพวกนี้ออกแบบให้มันดูสมมตรและเข้ากันอยู่แล้วครับ ขาดแต่สีและเรื่องราวที่เราต้องทำหน้าที่ถ่าย ตกแต่ง จัดวางให้ลงตัว
ลองมองหาฉากที่สมมาตรและตัวแบบ หรือวัตถุที่จะเป็น Subject หลักเพื่อสร้างเรื่องราวให้น่าสนใจ
ดูชัดเจน เคลียร์ อาจจะเลือกวางคนไว้ที่กลางเฟรมได้ ถ้าหากว่าทั้งสองข้างดูเท่ากัน
และมีเส้นนำสายตาไปยังกลางภาพ
10. เสริมอารมณ์ภาพด้วย VSCO
FILTER
ขอบคุณข้อมูลจาก : photoschoolthailand